Pages

Wednesday, July 29, 2020

'ชารัด' ลั่นดีแทค 4G ต้องดีที่สุด !! - ผู้จัดการออนไลน์

sagutgu.blogspot.com


ตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา ‘ดีแทค’ กลายเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายเดียวที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากทั้งปัญหาเรื่องคลื่นความถี่ไม่เพียงพอกับการใช้งาน และกระทบต่อเนื่องมาถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวลดลง แม้ว่าจะรักษากำไรในการดำเนินงานไว้ได้ แต่ก็มาจากการลดต้นทุนในการให้บริการเป็นหลัก

จากข้อมูลล่าสุดในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา จำนวนลูกค้าของดีแทค ลดลงถึง 8 แสนราย ทำให้ปัจจุบันฐานลูกค้ารวมของดีแทคอยู่ที่ 18.8 ล้านราย ลดลงจากในช่วงที่เคยมีฐานลูกค้าสูงที่สุด ราว 25.3 ล้านราย ในช่วงไตรมาส 4 ปี 58 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่กสทช. เปิดให้ลงทะเบียนซิมการ์ด

ขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงที่ ‘ชารัด เมห์โรทรา’ เข้ามารับไม้ต่อจาก อเล็กซานดร้า ไรซ์ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ทำให้ได้เริ่มศึกษา และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้น

โดยมีประเด็นหลักๆ ที่น่าสนใจคือ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้ลูกค้าต้องการสินค้า และบริการในราคาที่จับต้องได้ ประกอบกับสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และเร่งกระบวนการใช้งานดิจิทัลให้เปลี่ยนแปลงไป

‘จากข้อมูลที่ประเมินสภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่า GDP มีโอกาสติดลบ 8 % ทำให้มีความเสี่ยงที่คนจะตกงานประมาณ 8.3 ล้านราย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีนี้ ที่คาดว่าจะหายไปกว่า 80% เมื่อเทียบกับปีก่อน’

เมื่อเห็นถึงสภาพตลาด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ ดีแทค มองว่ากลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ คือการทำความเข้าใจลูกค้า และนำเสนอในสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าจริงๆ

‘ดีแทค ต้องการให้ลูกค้ามองว่า เป็นบริการที่ห่วงใยลูกค้า และสังคม ภายใต้การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับทุกคน ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยี Massive MIMO เข้ามาช่วย’

ผู้บริโภคทุกคนกำลังอยู่ในช่วงมองหาสินค้า และบริการที่ราคาเป็นมิตร ประกอบกับจากการ สำรวจพบว่าความถี่ในการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยทั่วประเทศนั้นมากกว่า 36 เดือน ทำให้เห็นว่าประชาชนทั่วไปเริ่มประหยัดเงินมากขึ้น

ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการในระบบเติมเงินมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากที่เดิมกลุ่มผู้ที่ใช้งานเพิ่มมากขึ้นจะเป็นกลุ่มลูกค้ารายเดือนเป็นหลัก เปรียบได้กับผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในการสื่อสารมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น 44% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังเห็นถึงแนวโน้มการใช้งานในแต่ละภูมิลำเนามากขึ้น จากการที่แรงงานไทยเดินทางกลับไปยังแต่ละท้องถิ่น ทำให้อัตราการใช้งานดาต้าในต่างจังหวัดเติบโตขึ้นถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับการใช้งานในกรุงเทพฯ

***ปรับปรุงบริการผ่านช่องทางดิจิทัล

สิ่งที่ดีแทค ทำเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นว่ามีความห่วงใย คือการปรับปรุงบริการที่ไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้า ทั้งการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อไปยังบริการอื่นๆ โดยหน้าเว็บไซต์มีการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 68% เช่นเดียวกับการบริการลูกค้า ที่กลายเป็นว่าสิ่งที่ ดีแทค เร่งพัฒนาแอป dtac ได้เข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกปรับแพ็กเกจใช้งาน ได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งเริ่มมีการนำเสนอ ในแบบ Personalize แม้กระทั่งการเลือกเบอร์มงคล

‘ในช่วงที่ผ่านมาต้องเข้าใจลูกค้าว่าต้องการอะไร ทำให้มีการพัฒนาบริการที่เข้าไปช่วยลูกค้าในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างดีแทคใจดีช่วยค่ายา บริการเสริมที่ช่วยให้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานจากที่บ้าน จนถึงเข้าไปร่วมกับบริษัทให้ประกันชีวิตกับลูกค้า’

อย่างในกรณีของการเลือกเบอร์มงคล ดีแทค เปิดบริการให้ลูกค้าเลือกเบอร์ที่เหมาะกับแต่ละบุคคล โดยสามารถใส่ทั้งวันเดือนปีเกิด ความต้องการลงในเว็บไซต์ เพื่อเลือกจองเบอร์ ก่อนเข้าไปเปิดใช้งานที่ศูนย์บริการ แสดงให้เห็นว่าช่องทางบริการผ่านดิจิทัลได้กลายเป็นช่องทางหลัก และเสริมด้วยศูนย์บริการไปเรียบร้อยแล้ว

***ดูแลลูกค้า ช่วยเหลือสังคม


เมื่อ ดีแทค มีมุมมองในฐานะผู้ประกอบการว่า ทำอย่างไรที่จะดูแลลูกค้า และช่วยสังคมให้ก้าวพ้นวิกฤตไปได้ สิ่งสำคัญเลยคือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน ทำให้ที่ผ่านมา ดีแทค มีการขยาย Massive MIMO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานขึ้น 3 เท่า ทำให้สามารถรองรับการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้น 44% ในช่วงที่ผ่านมาได้ ขณะเดียวกันยังพบปริมาณการใช้งานแอปพลิเคชันในการทำงานจากที่บ้านเพิ่มขึ้นถึง 3,000%

คำถามที่ตามมาคือ จะทำอย่างไรให้เครื่องที่ผู้บริโภคมีอยู่ในมือสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ ดีแทค จึงหันมาลงทุนเพิ่มเติมในเรื่องเสาสัญญาณที่ปล่อยคลื่นความถี่ 2300 MHz เพราะเป็นคลื่นความถี่ที่สมาร์ทโฟนกว่า 76% ของดีแทค สามารถใช้งานได้ทันที

‘ระยะเวลาเปลี่ยนสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 36 เดือน ดังนั้นการปรับปรุงเครือข่าย 4G TDD ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเข้าไปช่วยผู้ใช้งานทั่วประเทศมากกว่าการนำเงินไปลงทุนด้านอื่น’

ด้วยเหตุนี้ ดีแทค เน้นถึงความต้องการใช้งานในปัจจุบันของลูกค้ามากกว่า การสร้างสีสันด้วยการเปิดใช้งาน 5G แต่ลูกค้าไม่ได้มีเครื่องใช้งานที่รองรับ ประกอบกับเป้าหมายสำคัญของดีแทค คือการให้บริการในระดับราคาที่ลูกค้าเข้าถึงได้ 5G จึงยังไม่ใช่คำตอบในเวลานี้

‘ดีแทคจะโฟกัสในสิ่งที่ลูกค้าต้องการในช่วงนี้ จนถึงวันที่อีโคซิสเตมส์ 5G พร้อม ก็จะเริ่มศึกษาว่า 5G Use Case ที่เหมาะสม เพราะในความเป็นจริง 5G เป็นมากกว่า Personal Communication หรือการสื่อสารระหว่างบุคคล’

ขณะเดียวกัน เชื่อมั่นว่าการลงทุนขยายสถานีฐาน 2300 MHz ให้ลูกค้าทั่วประเทศได้ใช้งาน อินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ในภาวะที่เงินลงทุนจำกัดจึงต้องหันมาพัฒนาสิ่งที่ผู้ใช้งานทุกคนเข้าถึงได้ ดีกว่าไปทำอะไรที่หวือหวา แต่คนที่ใช้งานได้จริงมีจำนวนน้อย โดยในปีนี้ ดีแทค ได้วางงบลงทุนไว้ 8,000 - 10,000 ล้านบาท ในการขยายสถานีฐาน 2300 MHz ให้เป็น Massive MIMO เป็น 20,000 สถานีฐานภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีอยู่ราว 18,000 สถานีฐาน

รวมๆ แล้วปัจจุบัน ดีแทค มีสถานีฐานให้บริการทั้ง 2G 3G และ 4G รวมกันกว่า 1 แสนสถานีฐาน แบ่งเป็น 2G มากกว่า 10,000 สถานีฐาน 3G ประมาณ 37,000 สถานีฐาน และ 4G มากกว่า 45,000 สถานีฐาน

***ฐานลูกค้าลด แต่ยังแข็งแรง

แม้ว่าตั้งแต่ไตรมาส 1 ต่อเนื่องมายังไตรมาส 2 ลูกค้าดีแทค จะหายไปแล้วกว่า 1.8 ล้านราย แต่ ดีแทค มองว่า สถานการณ์นี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงปริมาณลูกค้าที่ใช้งานจริงในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ดีแทค ถือเป็นผู้นำในการจำหน่าย ‘ทัวร์ริสซิม’ ดังนั้นเมื่อไม่มีการท่องเที่ยว ลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยก็หายไป ดีแทค จึงได้รับผลกระทบในส่วนนี้ค่อนข้างเยอะในแง่ของปริมาณลูกค้าที่เปิดซิมใช้งาน

โดย ชารัด เชื่อว่าสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังนี้น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะการที่ดีแทค มีแผนเปิดให้บริการ 5G Fixed Wireless Access บนคลื่น 26 GHz ให้แก่ลูกค้าองค์กร ในช่วงไตรมาส 3 นี้ และมีแนวโน้มที่จะได้รับคลื่น 700 MHz จากกสทช. มาเปิดให้บริการ 5G บนคลื่น 700 MHz เพื่อให้บริการได้ครอบคลุม

***5G เหมือนการแข่งขันมาราธอน

ฮาว ริ เร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ดีแทค กล่าวทิ้งท้ายว่า การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยเฉพาะในยุคของ 5G นั้นเปรียบเหมือนการแข่งขันมาราธอน ที่จะใช้ระยะเวลาในการแข่งขันเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าดีแทค ไม่ให้ความสำคัญกับ 5G แต่ทุกอย่างเป็นไปตามแผน

เมื่อดีแทคมีความพร้อมอาจจะเป็นในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า เมื่อต้นทุนในการลงทุนต่ำลง ราคา อุปกรณ์ที่ใช้งาน 5G เข้าถึงได้ง่ายขึ้น การที่ ดีแทค สามารถนำประสบการณ์จากการให้บริการ 5G ในยุโรปของเทเลนอร์มาปรับใช้ จะช่วยให้แข่งขันในอีโคซิสเตมส์นี้ได้อย่างแน่นอน

***ปรับแนวทางทำงานของพนักงาน


สุดท้ายคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานภายในองค์กรให้สอดคล้องกับยุคสมัย ทั้งการลงทุนระบบควบคุมอัตโนมัติ มาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินการ ช่วยลดภาระงานของมนุษย์ โดยปัจจุบัน ในสำนักงานทุกแห่งของ ดีแทค จะเปิดให้พนักงานกว่า 95% ทำงานแบบยืดหยุ่น ในการสลับกันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์ หรือเฉพาะวันที่จำเป็นเท่านั้น

ทั้งนี้การทำงานแบบแบบใหม่ของดีแทค คือ ‘ชัดเจน-ยืดหยุ่น-ชัดเจน’ (tight-loose-tight) หมายถึง ชัดเจนในเรื่องความคาดหวัง ยืดหยุ่นในวิธีการที่พนักงานใช้ในการบรรลุเป้าหมาย และชัดเจนในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ

‘พนักงานนั้นมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและความพึงพอใจของพนักงาน’ ชารัด กล่าวทิ้งท้าย

Let's block ads! (Why?)



"ชา" - Google News
July 30, 2020 at 07:27AM
https://ift.tt/3hLzYNe

'ชารัด' ลั่นดีแทค 4G ต้องดีที่สุด !! - ผู้จัดการออนไลน์
"ชา" - Google News
https://ift.tt/34ns3QM

No comments:

Post a Comment