“เกาต์” ใครที่เป็นจะรู้ดีว่า ปุบปับนึกอยากจะปวดก็เป็นขึ้นมา และทรมานเหลือใจ
ขณะในโลกโซเชียลมีการแชร์สูตรชาสมุนไพรตะไคร้ใบเตย ว่าช่วยล้างยูริคในเลือด แก้โรคเกาต์ ได้ จะเชื่อได้-ควรกินดีหรือไม่ ทางเพจ Fda Thai ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีคำตอบมาให้แล้ว
ก่อนอื่นมาดู สรรพคุณทางยาของตะไคร้ คือช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และอาการปัสสาวะขัด
โดยใช้ส่วนของลำต้น หรือเหง้าแก่
ขณะสรรพคุณของใบเตย จะช่วยแก้กระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ร้อนใน และช่วยขับปัสสาวะ
สำหรับโรคเกาต์มีสาเหตุจากมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับมีผลึกของกรดยูริกในข้อ หรือเนื้อเยื่อรอบข้อ ทำให้ข้อ หรือเนื้อเยื่อรอบข้อนั้น เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน
ยาที่แพทย์มักใช้รักษาโรคเกาต์
1. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ช่วยลดอาการปวด และการอักเสบของข้อ
2. ยาโคลชิซิน (Colchicine) บรรเทาอาการปวด
3. ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) โดยทั่วไปมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาต้านอักเสบหรือยาโคลชิซินได้ เพื่อช่วยควบคุมการอักเสบและอาการปวดของโรค
4. ยายับยั้งการสร้างกรดยูริก (Xanthine Oxidase Inhibitors) เป็นยาที่ช่วยจำกัดการผลิตกรดยูริก
ของร่างกาย เช่น ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol)
5. ยาช่วยขับกรดยูริก เพิ่มการขับกรดยูริกออกมากับปัสสาวะมากขึ้น เช่น โพรเบเนซิด(Probenecid)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แม้โรคเกาต์จะมีสาเหตุหลักจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง แต่การดื่มชาตะไคร้ใบเตย ที่มีสรรพคุณข้างต้น จึงไม่ได้ช่วยให้กรดยูริกในร่างกายลดลงเลย
เรื่องแชร์ที่ว่า ชาตะไคร้ใบเตยช่วยล้างยูริกในเลือด และแก้โรคเกาต์ได้ จึงไม่ใช่ความจริง
"ชา" - Google News
June 03, 2020 at 07:00AM
https://ift.tt/2ABHhXn
“ชาสมุนไพรตะไคร้ใบเตย” รักษาเกาต์? - สยามรัฐ
"ชา" - Google News
https://ift.tt/34ns3QM
No comments:
Post a Comment